มาตรฐานสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าเป็นมาตรฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของยานยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน และส่งเสริมให้ระบบขนส่งของประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์แบบ
มาตรฐานสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีมาตรฐานสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอยู่หลายฉบับ ดังนี้
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2749 เล่ม 2-2559 หัวชาร์จแบบ Type II สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2911-2562 อุปกรณ์ควบคุมและป้องกันในสายสำหรับชาร์จไฟยานพาหนะไฟฟ้า โหมด 2
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 3060 เล่ม 1-2563 สายไฟฟ้าสำหรับอัดประจุ
- มาตรฐานความปลอดภัยสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (มจพ.701-2564)
มาตรฐานเหล่านี้ครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า โดยกำหนดรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
- การออกแบบและการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า
- อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ ของสถานีชาร์จไฟฟ้า
- มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีชาร์จไฟฟ้า
- มาตรฐานการทดสอบและรับรองสถานีชาร์จไฟฟ้า
ความปลอดภัย: หัวใจสำคัญของสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า
ความปลอดภัยถือเป็นหัวใจสำคัญอันดับหนึ่ง สถานีชาร์จที่ได้มาตรฐานจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มั่นใจได้ว่ามีระบบป้องกันอันตรายต่างๆ อาทิ
- ระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว
- ระบบป้องกันไฟเกิน
- ระบบป้องกันความร้อนสูง
- ระบบป้องกันฟ้าผ่า
- ระบบตัดไฟฉุกเฉิน
EV Charger เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการใช้งานรถอีวี การเลือก EV Charger ที่ได้มาตรฐาน ใช้งานอย่างถูกต้อง และปฏิบัติตามข้อควรระวัง จะช่วยให้การชาร์จไฟรถอีวี ของคุณปลอดภัย ไร้กังวล
ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง EV Charger ในปัจจุบันมีความปลอดภัยสูง เพียงผู้ใช้งานมีความรู้ความเข้าใจ ใช้งานอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถชาร์จไฟรถอีวี ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
แหล่งข้อมูล
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) : https://www.tisi.go.th/
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) : https://www.egat.co.th/